โลจิสติกส์

ระบบโลจิสติกส์กับพิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กงในไทเป (National Palace Museum)

By |2023-04-05T00:38:18+07:00April 5th, 2023|Sunnyมีเรื่องเล่า, บทความ, สายัณห์อยากเล่า, โลจิสติกส์|

ระบบโลจิสติกส์กับพิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กงในไทเป (National Palace Museum) ผมได้มีโอกาสไปไต้หวันและชมพิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กงในเมืองไทเป ซึ่งถือเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่จัดเก็บและจัดแสดงสิ่งของที่เป็นสมบัติโบราณวัตถุและศิลปะต่าง ๆ ของชาวจีนมากกว่า 600,000 ชิ้นงาน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงโบราณวัตถุที่มากที่สุดในโลก จนอาจกล่าวได้ว่า นอกจากจะดูศิลปะและโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่สำคัญที่จีนแผ่นดินใหญ่แล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะเป็นที่เรียนรู้ศิลปะและโบราณวัตถุของจีนได้เช่นกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมโดยยูเนสโกในปี 1987   สิ่งของต่าง ๆ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ส่วนใหญ่นำมาจากในพระราชวังต้องห้าม (Forbidden City) ของปักกิ่งที่ขนย้ายมาในช่วงสงครามกลางเมืองจีน ซึ่งเป็นช่วงที่เจียง ไค เช็ก แพ้สงครามแล้วถอยไปอยู่ที่เกาะไต้หวัน ต่อมาได้มีการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ซึ่งจัดเก็บและแสดงวัตถุโบราณตั้งแต่ 10,000 ปีก่อนยุค Neo Lithic (ยุคหินใหม่หรือ New Stone Age อยู่ในช่วงประมาณ 10,200-4,500/2,000 ปี ก่อนคริสตกาล) มาจนถึงราชวงศ์ Qing Dynasty

เศรษฐกิจอเมริกาทรุด! ส่งออกไทยกระทบแค่ไหน?

By |2023-04-01T19:53:36+07:00March 16th, 2023|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

เศรษฐกิจอเมริกาทรุด ! ส่งออกไทยจะถูกกระทบแค่ไหน ? เพียงแค่ 5 วัน (ระหว่าง 8-12 มีนาคม 2566) ธนาคารในสหรัฐอเมริกาถูกปิดไป 3 แห่ง ธนาคารแรก Silvergate Bank ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจ Crypto Currency ขาดทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท ธนาคารที่สอง Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 16 ของอเมริกา ปล่อยกู้ให้กับบริษัทเทคโนโลยี ธุรกิจ Start Up และตราสารหนี้โดยครึ่งหนึ่งของ Start Up ในอเมริกาใช้บริการของ SVB ธนาคาร SVB ในช่วง Covid19 มีเงินฝากเยอะเพิ่มมากขึ้น 2 เท่า จึงไปซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวและมีความเสี่ยงต่ำ เมื่อ Covid19

การส่งออกจากไทยไปยุโรป ต้องทบทวนกลยุทธ์

By |2022-09-26T00:01:52+07:00September 26th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

การส่งออกจากไทยไปยุโรป ต้องทบทวนกลยุทธ์ มูลค่าการส่งออกไทยไป EU (27 ประเทศ) ตั้งแต่ปี 2561-2564 ดูไม่สดใสเท่าที่ควรจะเป็น ตัวเลขเฉลี่ยปีละ 785,000 ล้านบาท และมีความเป็นไปได้ว่าการส่งออกของไทยไป EU 27 ประเทศ ภายในปี 2566 อาจจะมีมูลค่าน้อยลงด้วยสาเหตุต่อไปนี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตั้งแต่ 24 ก.พ.65 ทำให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางของวิกฤตเศรษฐกิจในหลายด้าน คือยุโรปต้องเผชิญกับการขาดแคลนพลังงาน เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากถึง 25% และ 40% ของการนำเข้า สาเหตุเพราะยุโรปเอาใจลูกพี่ใหญ่คือสหรัฐอเมริกาที่ชักชวนให้คว่ำบาตรรัสเซีย รัสเซียจึงลดการส่งออกก๊าซผ่านท่อจนเหลือเพียง 40% ของปริมาณที่เคยส่ง และบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซียยังได้ประกาศยกเลิกการส่งก๊าซไปยุโรปจนกว่าชาติตะวันตกจะยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปพุ่งสูงกว่า 200 ยูโร  (จากเดิม 50-60 ยูโร) ก่อให้เกิดความหวั่นวิตกว่ายุโรปอาจจะมีก๊าซไม่เพียงพอในฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ชาร์ตแสดงการส่งออกก๊าซไปยังประเทศต่างๆในยุโรปซึ่งมีจีน และ ญี่ปุ่น เป็นคู่ค้าด้วย นอกจากนี้ ปัญหาวิกฤตเงินเฟ้อของยุโรปขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับที่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพื่อดูแลเรื่องเงินเฟ้อ

ถ้าจีน – อเมริกา เปิดศึกกันเรื่องไต้หวัน จะส่งผลกระทบยังไงกับไทย

By |2022-09-25T23:45:05+07:00September 22nd, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

ถ้าจีน - อเมริกา เปิดศึกกันเรื่องไต้หวัน จะส่งผลกระทบยังไงกับไทย ผมรู้สึกแปร่งๆ ที่นาย ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เตือนว่า “อาเซียนอาจมีความรุนแรง” ในการแถลงต่อประชาชนเนื่องในวันชาติสิงคโปร์ เมื่อ 21 สิงหาคม 2565 (วันชาติสิงคโปร์ 9 สิงหาคม) พร้อมกับเตือนประชาชนว่าคนสิงคโปร์ต้องเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง เพราะมีความตึงเครียดระหว่างจีนกับอเมริกาซึ่งย้ายเข้ามาในอาเซียน ทั้งสองฝ่ายประกาศแยกตัวจากกันมากขึ้น มีข้อขัดแย้งหลายเรื่องจนยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ยังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งไม่สิ้นสุด และยังเตือนว่ากองกำลังของสิงคโปร์ต้องรับใช้ชาติอย่างจริงจัง ต้องทำให้กองทัพและหน่วยรักษาความปลอดภัยแข็งแกร่ง มีความน่าเชื่อถือที่สุด เขากล่าวต่อไปว่า อาเซียนมีความสงบสันติมานาน หากมีอะไรเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเหมือนในยุโรปแล้ว อาเซียนจะเป็นอย่างไร          ความแปร่งที่ผมรู้สึกได้ก็คือ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คงจะรู้สึกและรับรู้ได้ของเค้าลางด้านความขัดแย้งของสองมหาอำนาจที่จะเข้ามามีผลกระทบในอาเซียน และแต่ละประเทศในอาเซียนอาจต้องตัดสินใจในวาระสำคัญ ในการกล่าวกับประชาชนสิงคโปร์ นาย ลี เซียน ลุง พูดชัดเจนว่าสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก จะทำอะไรหรือตัดสินใจในประเด็นสำคัญๆ จะยึดหลักนิติธรรมสากลหรือหลักกฎหมายเป็นหลัก          ในกรณีของวิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครน การที่สิงคโปร์เห็นด้วยกับมติสหประชาชาติให้ประณามรัสเซียเพราะยึดหลักการดังกล่าว การที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวว่า

ภาษีคาร์บอนกับอุตสาหกรรมและการส่งออก

By |2022-08-20T13:17:14+07:00August 20th, 2022|บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

ภาษีคาร์บอนกับอุตสาหกรรมและการส่งออก ภาษีคาร์บอนเป็นการเก็บภาษีจากภาคการผลิตเพื่อให้ภาคการผลิต ได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก GHG (Green House Gases) ภาษีคาร์บอนเกิดจากกิจกรรมการผลิตสินค้าและการบริโภคซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและนำไปสู่ปัญหา Climate Change (ภาวะโลกรวน) การจะให้ภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงเรื่องการลด GHG คือการเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เพราะถ้าเก็บภาษีคาร์บอนสูง จะทำให้ภาคการผลิตลงทุนเพื่อให้ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ประเทศในยุโรปมีการเก็บภาษีคาร์บอนที่เอาจริงเอาจัง โดยสวีเดนเก็บภาษีคาร์บอนตั้งแต่ปี 1991 ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนในภาคขนส่งในสวีเดนลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันสหภาพยุโรปยังเก็บภาษีคาร์บอนทั้งจากอุตสาหกรรมในประเทศและจะเก็บจากสินค้าที่เข้าไปขายในสหภาพยุโรปด้วย ยุโรปมีเป้าหมายว่าในปี 2030 หรืออีก 8 ปี จะลดก๊าซเรือนกระจกลง 55% และจะเป็นศูนย์ในปี 2050 โดยมีมาตรการการเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้านำเข้าหรือคือ CBAM (Cross Border Adjustment Mechanism) และ “Fit For 55 Package” เช่น 1. ลด CO2 ในรถยนต์ เรือ เครื่องบิน เป็นศูนย์ในปี

บาทอ่อน ส่งออกไทย ดีจริงหรือ?

By |2022-07-14T20:43:34+07:00July 14th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

บาทอ่อน ส่งออกไทย ดีจริงหรือ? หลายประเทศในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตหนี้ในภาวะเงินเฟ้อสูง ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่าประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกมีภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 กว่าปี เช่น อังกฤษ เงินเฟ้อ 9.1% สหรัฐอเมริกา 8.6% และเยอรมัน 7.9% ในขณะที่อีกหลายประเทศพบกับปัญหาเงินเฟ้อสูงสุดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป เช่น เอธิโอเปีย 37.7% ศรีลังกา 39.1% อิหร่าน 39.3% อาร์เจนตินา 60.7% เวเนซูเอล่า 167.1% เลบานอน 211% สาเหตุหลักเกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 105.76 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล นอกจากนี้ ยังเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและอาหาร อันเนื่องมาจากการแซงชั่นของอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปต่อรัสเซีย ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการมีราคาแพงขึ้น ประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.2565 ขยายตัว 7.66% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ

BRICS กับโอกาสการส่งออกของไทย

By |2022-07-04T09:27:28+07:00July 4th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, โลจิสติกส์|

BRICS กับโอกาสการส่งออกของไทย ทั่วโลกให้ความสนใจต่อการประชุม BRICS ครั้งที่ 14 เมื่อ 23 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นการประชุม Online โดยจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ BRICS เป็นการรวมตัวกันของ 5 ประเทศ ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ รวมตัวกันในปี 2009 และต่อมาแอฟริกาใต้ได้เข้าร่วมด้วยในปี 2010 การที่ทั้งโลกสนใจการประชุม BRICS ครั้งนี้ เพราะเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีปูติน ของรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมกับจีน อินเดีย หลังจากที่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบกับจีน อินเดีย เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกในเอเชียที่ไม่ประณามรัสเซียในสหประชาชาติ ในกรณีที่รัสเซียบุกยูเครน นอกจากประเด็นที่ประธานาธิบดีปูตินเข้าร่วมประชุมกลุ่ม BRICS แล้ว ยังมีเรื่องที่น่าสนใจคือ GDP ภายในประเทศของ 5 ประเทศรวมกัน

ทำไม Logistics และ Supply Chain ทำให้สินค้าขึ้นราคา ?

By |2022-07-14T19:51:46+07:00May 27th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

ทำไม Logistics และ Supply Chain ทำให้สินค้าขึ้นราคา ? คำถามข้างต้นเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายมากสำหรับนักวิเคราะห์และทำนายเศรษฐกิจ นักการเงิน-ธนาคาร นักเศรษฐศาสตร์ ผู้นำเข้า-ส่งออก รวมถึงกูรูด้าน Logistics และ Supply Chain แต่........อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่ายนักสำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้นำเข้าและส่งออกที่เพิ่งจะเริ่มทำการค้าระหว่างประเทศ เพราะการที่สินค้าแพง Logistics และ Supply Chain เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัย เพราะความจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศ ทั้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) เช่น ที่ตั้งของประเทศ หรือผลกระทบของภูมิศาสตร์และการเมืองที่มีต่อประชาชน เรามาเข้าเรื่องกันว่า Logistics (Logis) และ Supply Chain (SC) ทำไมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้สินค้าขึ้นราคา เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ Logistics หมายถึงกระบวนการขั้นตอนการเคลื่อนย้าย ขนส่ง จัดเก็บ ผลิตและส่งมอบสินค้าหรือสิ่งของให้ถึงมือผู้รับ ผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างรวดเร็วถูกต้อง และต้นทุนในขั้นตอนต่างๆ ต่ำ เช่น

Go to Top