Monthly Archives: July 2022

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย จะลดเงินเฟ้อหรือจะช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไป

By |2022-07-25T20:10:37+07:00July 24th, 2022|บทความ, เศรษฐกิจ|

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย จะลดเงินเฟ้อหรือจะช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไป 1. เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเดือน มิ.ย. 9.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี 2. อังกฤษอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 9.4% สูงสุดในรอบ 40 ปี 3. หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยสูงมากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 90.1% ของ GDP 4. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีแนวโน้มว่าค่าเงินบาทอาจจะไปถึง 37 บาท ธนาคาร EXIM ประกาศว่า ลูกค้าธนาคารทำประกันความเสี่ยงด้านค่าเงินและการชำระเงิน 5. คาดการณ์กันว่า FED (Federal Reserve) ธนาคารกลางของเอมริกามีแนวโน้มว่าอาจจะมีการปรับ ดอกเบี้ยนโยบายแรงขึ้นประมาณ 0.75 – 1.0 % เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ สหรัฐแข็งขึ้น 6. คาดว่า กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย) อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ย นโยบายการเงินขึ้นระหว่าง

บาทอ่อน ส่งออกไทย ดีจริงหรือ?

By |2022-07-14T20:43:34+07:00July 14th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

บาทอ่อน ส่งออกไทย ดีจริงหรือ? หลายประเทศในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตหนี้ในภาวะเงินเฟ้อสูง ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่าประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกมีภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 กว่าปี เช่น อังกฤษ เงินเฟ้อ 9.1% สหรัฐอเมริกา 8.6% และเยอรมัน 7.9% ในขณะที่อีกหลายประเทศพบกับปัญหาเงินเฟ้อสูงสุดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป เช่น เอธิโอเปีย 37.7% ศรีลังกา 39.1% อิหร่าน 39.3% อาร์เจนตินา 60.7% เวเนซูเอล่า 167.1% เลบานอน 211% สาเหตุหลักเกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 105.76 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล นอกจากนี้ ยังเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและอาหาร อันเนื่องมาจากการแซงชั่นของอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปต่อรัสเซีย ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการมีราคาแพงขึ้น ประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.2565 ขยายตัว 7.66% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ

BRICS กับโอกาสการส่งออกของไทย

By |2022-07-04T09:27:28+07:00July 4th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, โลจิสติกส์|

BRICS กับโอกาสการส่งออกของไทย ทั่วโลกให้ความสนใจต่อการประชุม BRICS ครั้งที่ 14 เมื่อ 23 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นการประชุม Online โดยจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ BRICS เป็นการรวมตัวกันของ 5 ประเทศ ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ รวมตัวกันในปี 2009 และต่อมาแอฟริกาใต้ได้เข้าร่วมด้วยในปี 2010 การที่ทั้งโลกสนใจการประชุม BRICS ครั้งนี้ เพราะเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีปูติน ของรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมกับจีน อินเดีย หลังจากที่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบกับจีน อินเดีย เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกในเอเชียที่ไม่ประณามรัสเซียในสหประชาชาติ ในกรณีที่รัสเซียบุกยูเครน นอกจากประเด็นที่ประธานาธิบดีปูตินเข้าร่วมประชุมกลุ่ม BRICS แล้ว ยังมีเรื่องที่น่าสนใจคือ GDP ภายในประเทศของ 5 ประเทศรวมกัน

Go to Top