อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย จะลดเงินเฟ้อหรือจะช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไป

1. เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเดือน มิ.ย. 9.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี
2. อังกฤษอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 9.4% สูงสุดในรอบ 40 ปี
3. หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยสูงมากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 90.1% ของ GDP
4. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีแนวโน้มว่าค่าเงินบาทอาจจะไปถึง 37 บาท ธนาคาร EXIM ประกาศว่า
ลูกค้าธนาคารทำประกันความเสี่ยงด้านค่าเงินและการชำระเงิน
5. คาดการณ์กันว่า FED (Federal Reserve) ธนาคารกลางของเอมริกามีแนวโน้มว่าอาจจะมีการปรับ
ดอกเบี้ยนโยบายแรงขึ้นประมาณ 0.75 – 1.0 % เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์
สหรัฐแข็งขึ้น

6. คาดว่า กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย) อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ย
นโยบายการเงินขึ้นระหว่าง 0.25 – 0.50 % จากปัจจุบันดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 0.50 %
* กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงิน) คืออะไร อัตราดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ซึ่งรับผิดชอบด้านการกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารกลาง เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผล
ต่ออัตราดอกเบี้ยอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงดอกเบี้ยที่ประชาชนกู้จากธนาคารจะลดลงแต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น
ผู้กู้เงินต้องชำระดอกเบี้ยให้ธนาคารเพิ่มขึ้น

7. การท่องเที่ยวของไทยที่คาดว่าน่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะมีทั้งทางบวกและทางลบ
ทางบวก ค่าเงินดอลล่าสหรัฐแข็งทำให้ค่าเงินบาทอ่อน นักท่องเที่ยวที่ใช้เงินดอลล่าร์สหรัฐ
จะใช้จ่ายในไทยถูกลง
ทางลบ การระบาดของ COVID 19 ที่เริ่มระบาดมากขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวยังหวาดกลัวไม่
เข้าประเทศไทยตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดหวัง
นักท่องเที่ยวจีนจะยังไม่เข้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังเพราะนโยบายที่เคร่งครัดของรัฐบาลจีน

8. แม้น้ำมันอาจจะปรับราคาลงแต่ไม่ได้หมายความว่าจะปรับลงตลอดไป การปรับราคาลงช่วงนี้อาจ
เกิดจากมีการใช้น้ำมันเพื่อการอุตสาหกรรมน้อยลง ระบบ Supply Chain สะดุดในอุตสาหกรรมบาง
ประเภท หากสงครามรัสเซีย – ยูเครน ขยายตัวออกไปโดยมีสหรัฐและ NATO เป็นแกนนำในการ
สนับสนุนยูเครน เชื่อแน่ว่าน้ำมันยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพราะมีความต้องการใช้
ในประเทศคู่สงคราม

9. มีแนวโน้มว่าความเปราะบางในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มที่มีปัญหาค่าใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่ม SMEs ที่เข้า
ไม่ถึงแหล่งการเงิน กลุ่มคนยากจนที่มีรายได้ไม่แน่นอนไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆจากรัฐบาลเพราะ
หมดระยะเวลาในการรับโครงการช่วยเหลือต่างๆจากรัฐบาล กลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่พืชไร่ราคาไม่ดี
จะได้รับผลกระทบ หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราสูง

10 จากการที่สถานประกอบการขนาดใหญ่หลายๆแห่งกู้เงินจากประชาชนโดยออกตราสารหนี้ด้วยการ
ให้อัตราดอกเบี้ยช่วง 5 ปีแรกที่ 5.25 – 5.50 % ต่อปี แสดงว่าสถานประกอบการเหล่านั้นเล็งเห็นแล้ว
ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายแน่เพราะในช่วงครึ่งปีแรกของปี
2565 บริษัทใหญ่ๆมีการออกตราสารหนี้มากถึง 6.6 แสนล้านบาท

11 การที่ กนง. ยังไม่เรียกประชุมด่วนเพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายแสดงเป็นนัยยะว่า ธนาคาร
แห่งประเทศไทยคงจะยังมองว่าระบบเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงกำลังขับเคลื่อน หากปรับอัตราดอกเบี้ย
นโยบายมากไปแทนที่จะเป็นชะลอเงินเฟ้อแต่อาจเป็นการซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจในภาพรวมให้หยุด
หรือถอยหลัง การประชุมของ กนง. ในเดือนสิงหาคม 2565 คงจะต้องพิจารณากันหนักหน่วง แต่ถ้า
กนง. ปรับตามที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดการณ์คือพยายามปรับตาม FED ก็เป็นเรื่องที่น่าห่วง แต่ผมไม่
คิดว่า กนง. จะคิดและทำเช่นนั้นเพราะประเทศไทยกับอเมริกาต่างกันอย่างสิ้นเชิงและเงินดอลล่าร์
สหรัฐคงจะไม่ไหลกลับไปอเมริกามากมายสักเท่าไหร่

แต่ถ้า กนง. จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็คงจะมีช่องทางให้ SMEs และผู้ประกอบการราย
ย่อยได้มีโอกาสอยู่รอดและพอจะหายใจได้บ้าง

ติดต่อ สอบถาม ใช้บริการ นำเข้า-ส่งออก คลิกที่นี่ หรือ โทร 0-2742-7851-5 / 0-2742-7858-60 หรือ อีเมล์ mks@ebcitrade.com

25 พฤษภาคม 2565

เกี่ยวกับผู้เขียน

*สายัณห์  จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น อินเตอร์-แนชชั่นแนล จำกัด (อีบีซีไอ) อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์ การค้าระหว่างประเทศและสิทธิประโยชน์ภาษีอากร