ภาษีคาร์บอนกับอุตสาหกรรมและการส่งออก

ภาษีคาร์บอนเป็นการเก็บภาษีจากภาคการผลิตเพื่อให้ภาคการผลิต ได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก GHG (Green House Gases)

ภาษีคาร์บอนเกิดจากกิจกรรมการผลิตสินค้าและการบริโภคซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและนำไปสู่ปัญหา Climate Change (ภาวะโลกรวน)

Global Carbon Emissions Are Rising Again after 3 Flat Years - Scientific American

การจะให้ภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงเรื่องการลด GHG คือการเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เพราะถ้าเก็บภาษีคาร์บอนสูง จะทำให้ภาคการผลิตลงทุนเพื่อให้ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น

ประเทศในยุโรปมีการเก็บภาษีคาร์บอนที่เอาจริงเอาจัง โดยสวีเดนเก็บภาษีคาร์บอนตั้งแต่ปี 1991 ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนในภาคขนส่งในสวีเดนลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันสหภาพยุโรปยังเก็บภาษีคาร์บอนทั้งจากอุตสาหกรรมในประเทศและจะเก็บจากสินค้าที่เข้าไปขายในสหภาพยุโรปด้วย

ยุโรปมีเป้าหมายว่าในปี 2030 หรืออีก 8 ปี จะลดก๊าซเรือนกระจกลง 55% และจะเป็นศูนย์ในปี 2050 โดยมีมาตรการการเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้านำเข้าหรือคือ CBAM (Cross Border Adjustment Mechanism) และ “Fit For 55 Package” เช่น

1. ลด CO2 ในรถยนต์ เรือ เครื่องบิน เป็นศูนย์ในปี 2035 โดยเครื่องบินปล่อย CO2 มากที่สุด ตามด้วยเรือและรถยนต์

2. ในปี 2030 บริษัทในยุโรปที่ไปตั้งโรงงานในประเทศอื่นแล้วส่งสินค้ากลับเข้าไปขายในยุโรป หรือที่เรียกกันว่า “Carbon Leakage” จะถูกเก็บภาษี CO2

3. ปี 2030 จะใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพิ่มจาก 30% เป็น 50%

4. ปี 2030 มาตรการ CBAM หรือ Cross Border Adjustment Mechanism จะมีความเตรียมพร้อมในปี 2023 และจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปในวันที่ 1 ม.ค.2026 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า โดยจะนำร่องด้วยอุตสาหกรรมซีเมนต์ เหล็ก ไฟฟ้า ปุ๋ย อลูมิเนียม (โดยคำนวณการปล่อย GHG จากกระบวนการผลิตโดยตรง)

ดังนั้น สินค้าที่ส่งเข้ายุโรปหลัง 6 ม.ค.2026 ต้องแจ้งปริมาณการปล่อย GHG และมี CBAM Certificate (มีการซื้อขายกันตามราคาภายใต้ EU ETS) หากไม่มี CBAM Certificate ต้องเสียค่าปรับ 40-100 ต่อยูโรตันคาร์บอนเทียบเท่า

ด้วยเหตุนี้ สินค้าอุตสาหกรรมที่ปล่อย GHG ต่อ GDP สูง จะถูกเก็บภาษีคาร์บอนสูง เช่น ปูนซีเมนต์ พลาสติก เตาอบ ปิโตรเลียม เหล็ก ปุ๋ย แก้ว อลูมิเนียม น้ำตาล

อุตสาหกรรมไทยต้องเตรียมพร้อมคือ

1. ภาคการผลิตจะถูกกำหนดให้ติดฉลาก CFP (Carbon Foot Print) หรือฉลากโลกร้อนมากขึ้น

2. มีการเก็บภาษีคาร์บอนในอุตสาหกรรมซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

3. กระทบการส่งออกในตลาดยุโรปและตลาดอื่นเมื่อมีการใช้ CBAM (Cross Border Adjustment Mechanism)

4. มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการลงทุนจากต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทย

5. สถาบันการเงินบางแห่งอาจจะนำเรื่องปริมาณการปล่อย CO2 เป็นเกณฑ์พิจารณาให้สินเชื่อ

6. ประเทศในยุโรปอาจมีมาตรการเสริมหากสินค้าที่นำเข้าในยุโรปไม่ปฏิบัติตาม เช่น มาตรการการกีดกันหรือปรับอัตราภาษีให้สูงมากกว่าปกติ

นอกจากนี้ หลายประเทศในยุโรปหรือแม้แต่สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้มาตรการ Green Logistics

และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กับระบบ Logistics และอุตสาหกรรมบางประเภท ในขณะที่บางอุตสาหกรรมเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เช่น บางบริษัทในสหรัฐอเมริกากำหนดให้รถขนส่งสินค้าไม่ใช้น้ำมัน แต่ใช้ก๊าซแทนน้ำมัน หรือน้ำเครื่องที่ใช้แล้วจะต้องนำไปปรับสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ หรือยางรถยนต์ที่หมดอายุแล้วจะต้องนำไปทำเป็นสินค้าแบบอื่นที่ใช้ได้ เช่น นำไปผลิตเป็นแผ่นยางปูพื้นในสวน

ข้อมูลข้างต้น ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญโดยได้กำหนด Timeline ไว้แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต้องให้ความสนใจและเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทั้งต่างประเทศและในประเทศ

ติดต่อ สอบถาม ใช้บริการ นำเข้า-ส่งออก คลิกที่นี่ หรือ โทร 0-2742-7851-5 / 0-2742-7858-60 หรือ อีเมล์ mks@ebcitrade.com

20 สิงหาคม 2565

เกี่ยวกับผู้เขียน

*สายัณห์  จันทร์วิภาสวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ บิสเนส คอร์ปอร์เรชั่น อินเตอร์-แนชชั่นแนล จำกัด (อีบีซีไอ) อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์ การค้าระหว่างประเทศและสิทธิประโยชน์ภาษีอากร