การค้าระหว่างประเทศ

APEC 2022 ไทยได้อะไรจริงหรือ?

By |2022-10-18T21:40:04+07:00October 15th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ|

APEC 2022 ไทยได้อะไรจริงหรือ? อาจเป็นเพราะข่าวเด่นๆ ในประเทศไทยดึงความสนใจไปจากสื่อและประชาชน เช่น ข่าวการวินิจฉัยในการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของศาลรัฐธรรมนูญต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ข่าวน้ำท่วมในต่างจังหวัดและ กทม. ซึ่งมีทีท่าว่าในบางจังหวัดจะท่วมหนักกว่าปี 2562 และข่าวโศกนาฏกรรมที่หนองบัวลำภู ทำให้สื่อประเภทต่างๆ ให้ความสนใจต่อข่าวการประชุม APEC ช่วง 18-19 พ.ย.65 น้อย ทำให้ข่าว APEC ดูเหงาหงอย แม้รัฐบาลจะมีโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ บ้าง (เข้าใจว่างบประมาณจำกัด)             และอาจเป็นเพราะว่าการประชาสัมพันธ์เรื่องความสำคัญของการประชุม APEC ที่มีต่อประเทศไทยให้ข้อมูลน้อยไป แม้แต่คำว่า Open.  Connect.  Balance. ก็ไม่ได้ขยายความเข้าใจให้ประชาชนเข้าใจว่ามันคืออะไร เป็นประโยชน์ทางการค้า สิ่งแวดล้อมในอนาคต และช่วยเหลือ SMEs อย่างไร ประกอบกับผู้นำประเทศของสหรัฐอเมริกาอย่างโจ ไบเดน ไม่ให้ความสำคัญกับ APEC 2022 เพราะหากมาร่วมการประชุม ความโอ่อ่าอลังการที่เคยเป็นในอดีตอาจจะไม่เฉิดฉาย สปอร์ตไลท์ทางการเมืองระหว่างประเทศอาจจะฉายไปที่สี จิ้น

การส่งออกจากไทยไปยุโรป ต้องทบทวนกลยุทธ์

By |2022-09-26T00:01:52+07:00September 26th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

การส่งออกจากไทยไปยุโรป ต้องทบทวนกลยุทธ์ มูลค่าการส่งออกไทยไป EU (27 ประเทศ) ตั้งแต่ปี 2561-2564 ดูไม่สดใสเท่าที่ควรจะเป็น ตัวเลขเฉลี่ยปีละ 785,000 ล้านบาท และมีความเป็นไปได้ว่าการส่งออกของไทยไป EU 27 ประเทศ ภายในปี 2566 อาจจะมีมูลค่าน้อยลงด้วยสาเหตุต่อไปนี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตั้งแต่ 24 ก.พ.65 ทำให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางของวิกฤตเศรษฐกิจในหลายด้าน คือยุโรปต้องเผชิญกับการขาดแคลนพลังงาน เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากถึง 25% และ 40% ของการนำเข้า สาเหตุเพราะยุโรปเอาใจลูกพี่ใหญ่คือสหรัฐอเมริกาที่ชักชวนให้คว่ำบาตรรัสเซีย รัสเซียจึงลดการส่งออกก๊าซผ่านท่อจนเหลือเพียง 40% ของปริมาณที่เคยส่ง และบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซียยังได้ประกาศยกเลิกการส่งก๊าซไปยุโรปจนกว่าชาติตะวันตกจะยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซีย ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปพุ่งสูงกว่า 200 ยูโร  (จากเดิม 50-60 ยูโร) ก่อให้เกิดความหวั่นวิตกว่ายุโรปอาจจะมีก๊าซไม่เพียงพอในฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ชาร์ตแสดงการส่งออกก๊าซไปยังประเทศต่างๆในยุโรปซึ่งมีจีน และ ญี่ปุ่น เป็นคู่ค้าด้วย นอกจากนี้ ปัญหาวิกฤตเงินเฟ้อของยุโรปขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับที่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพื่อดูแลเรื่องเงินเฟ้อ

ถ้าจีน – อเมริกา เปิดศึกกันเรื่องไต้หวัน จะส่งผลกระทบยังไงกับไทย

By |2022-09-25T23:45:05+07:00September 22nd, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

ถ้าจีน - อเมริกา เปิดศึกกันเรื่องไต้หวัน จะส่งผลกระทบยังไงกับไทย ผมรู้สึกแปร่งๆ ที่นาย ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เตือนว่า “อาเซียนอาจมีความรุนแรง” ในการแถลงต่อประชาชนเนื่องในวันชาติสิงคโปร์ เมื่อ 21 สิงหาคม 2565 (วันชาติสิงคโปร์ 9 สิงหาคม) พร้อมกับเตือนประชาชนว่าคนสิงคโปร์ต้องเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง เพราะมีความตึงเครียดระหว่างจีนกับอเมริกาซึ่งย้ายเข้ามาในอาเซียน ทั้งสองฝ่ายประกาศแยกตัวจากกันมากขึ้น มีข้อขัดแย้งหลายเรื่องจนยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ยังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งไม่สิ้นสุด และยังเตือนว่ากองกำลังของสิงคโปร์ต้องรับใช้ชาติอย่างจริงจัง ต้องทำให้กองทัพและหน่วยรักษาความปลอดภัยแข็งแกร่ง มีความน่าเชื่อถือที่สุด เขากล่าวต่อไปว่า อาเซียนมีความสงบสันติมานาน หากมีอะไรเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเหมือนในยุโรปแล้ว อาเซียนจะเป็นอย่างไร          ความแปร่งที่ผมรู้สึกได้ก็คือ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คงจะรู้สึกและรับรู้ได้ของเค้าลางด้านความขัดแย้งของสองมหาอำนาจที่จะเข้ามามีผลกระทบในอาเซียน และแต่ละประเทศในอาเซียนอาจต้องตัดสินใจในวาระสำคัญ ในการกล่าวกับประชาชนสิงคโปร์ นาย ลี เซียน ลุง พูดชัดเจนว่าสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก จะทำอะไรหรือตัดสินใจในประเด็นสำคัญๆ จะยึดหลักนิติธรรมสากลหรือหลักกฎหมายเป็นหลัก          ในกรณีของวิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครน การที่สิงคโปร์เห็นด้วยกับมติสหประชาชาติให้ประณามรัสเซียเพราะยึดหลักการดังกล่าว การที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวว่า

แนนซี่ เพโลซี่ เยือนไต้หวัน สะเทือนทั้งโลก!

By |2022-08-07T20:25:25+07:00August 6th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, การเมือง, บทความ|

แนนซี่ เพโลซี่ การเดินทางสะเทือนโลก! ในช่วง 2-3 สิงหาคม 2565 ทั่วโลกจับจ้องหรือจับภาพการเดินทางและการเคลื่อนไหวของนางแนนซี่ เพโลซี่ ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมุมมองทางการเมืองของอเมริกาถือว่าเป็นบุคคลสำคัญอันดับสามรองจากประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี การที่ทั่วโลกสนใจการเดินทางของนางเพโลซี่เพราะการเดินทางมาเอเชียของเธอไม่มีไต้หวันอยู่ในกำหนดการ จีนประกาศอย่างจริงจังว่าการไปเยือนไต้หวันของนางเพโลซี่เป็นการขัดหลักการจีน ซึ่งอเมริกาให้การยอมรับแล้วว่าในโลกนี้มีจีนเดียวหรือสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนได้ประกาศเตือนว่า “อย่าเล่นกับไฟ” และสหรัฐอเมริกาจะต้องรับผิดชอบต่อผลต่างๆ ที่จะตามมา และอย่าก้าวลึกลงไปในทางที่ผิดเพราะอันตรายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ในคืนวันที่ 3 สิงหาคม 2565 นางเพโลซี่ วัย 82 ปี ได้มีภาพข่าวไปทั่วโลกว่าเธออยู่ในไต้หวัน และได้พบกับ นางไช่ อิว เหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน โดยมีภาพการต้อนรับจับมือและต่างก็ย้ำความสัมพันธ์และความสนับสนุนที่มีต่อกัน ผู้นำไต้หวันให้คำมั่นว่าจะกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิตกับสหรัฐให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประธานนาธิบดีไต้หวันได้มอบเครื่องราชย์เมฆมงคลให้แก่นางเพโลซี่ด้วย ในขณะที่หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสท์ ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อของสหรัฐอเมริกาอ้างแหล่งข่าวว่านางเพโลซี่ จะพบกับ นาย มาร์ค หลิว ประธานบริษัท TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวันและในโลก เพื่อแก้ไขการขาดแคลนของชิปที่ขณะนี้ขาดแคลนไปทั่วโลก

บาทอ่อน ส่งออกไทย ดีจริงหรือ?

By |2022-07-14T20:43:34+07:00July 14th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

บาทอ่อน ส่งออกไทย ดีจริงหรือ? หลายประเทศในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตหนี้ในภาวะเงินเฟ้อสูง ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่าประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกมีภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 กว่าปี เช่น อังกฤษ เงินเฟ้อ 9.1% สหรัฐอเมริกา 8.6% และเยอรมัน 7.9% ในขณะที่อีกหลายประเทศพบกับปัญหาเงินเฟ้อสูงสุดตั้งแต่ 30% ขึ้นไป เช่น เอธิโอเปีย 37.7% ศรีลังกา 39.1% อิหร่าน 39.3% อาร์เจนตินา 60.7% เวเนซูเอล่า 167.1% เลบานอน 211% สาเหตุหลักเกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 105.76 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล นอกจากนี้ ยังเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและอาหาร อันเนื่องมาจากการแซงชั่นของอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปต่อรัสเซีย ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการมีราคาแพงขึ้น ประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.2565 ขยายตัว 7.66% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ

BRICS กับโอกาสการส่งออกของไทย

By |2022-07-04T09:27:28+07:00July 4th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, โลจิสติกส์|

BRICS กับโอกาสการส่งออกของไทย ทั่วโลกให้ความสนใจต่อการประชุม BRICS ครั้งที่ 14 เมื่อ 23 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นการประชุม Online โดยจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ BRICS เป็นการรวมตัวกันของ 5 ประเทศ ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ รวมตัวกันในปี 2009 และต่อมาแอฟริกาใต้ได้เข้าร่วมด้วยในปี 2010 การที่ทั้งโลกสนใจการประชุม BRICS ครั้งนี้ เพราะเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีปูติน ของรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมกับจีน อินเดีย หลังจากที่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบกับจีน อินเดีย เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกในเอเชียที่ไม่ประณามรัสเซียในสหประชาชาติ ในกรณีที่รัสเซียบุกยูเครน นอกจากประเด็นที่ประธานาธิบดีปูตินเข้าร่วมประชุมกลุ่ม BRICS แล้ว ยังมีเรื่องที่น่าสนใจคือ GDP ภายในประเทศของ 5 ประเทศรวมกัน

ทำไม Logistics และ Supply Chain ทำให้สินค้าขึ้นราคา ?

By |2022-07-14T19:51:46+07:00May 27th, 2022|การค้าระหว่างประเทศ, บทความ, เศรษฐกิจ, โลจิสติกส์|

ทำไม Logistics และ Supply Chain ทำให้สินค้าขึ้นราคา ? คำถามข้างต้นเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายมากสำหรับนักวิเคราะห์และทำนายเศรษฐกิจ นักการเงิน-ธนาคาร นักเศรษฐศาสตร์ ผู้นำเข้า-ส่งออก รวมถึงกูรูด้าน Logistics และ Supply Chain แต่........อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่ายนักสำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้นำเข้าและส่งออกที่เพิ่งจะเริ่มทำการค้าระหว่างประเทศ เพราะการที่สินค้าแพง Logistics และ Supply Chain เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัย เพราะความจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศ ทั้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) เช่น ที่ตั้งของประเทศ หรือผลกระทบของภูมิศาสตร์และการเมืองที่มีต่อประชาชน เรามาเข้าเรื่องกันว่า Logistics (Logis) และ Supply Chain (SC) ทำไมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้สินค้าขึ้นราคา เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ Logistics หมายถึงกระบวนการขั้นตอนการเคลื่อนย้าย ขนส่ง จัดเก็บ ผลิตและส่งมอบสินค้าหรือสิ่งของให้ถึงมือผู้รับ ผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างรวดเร็วถูกต้อง และต้นทุนในขั้นตอนต่างๆ ต่ำ เช่น

Go to Top